KKP ตั้งสำรองสูง ฉุดกำไรวูบ 30.7% ไตรมาส 2 เหลือ 1,408 ล้านบาท

KKP ปี 65 กำไรสุทธิ 7,602 ล้านบาท โต 20.3% ตั้งสำรองสูง รับมือศก.ผันผวน

 KKP ตั้งสำรองสูง ฉุดกำไรวูบ 30.7% ไตรมาส 2 เหลือ 1,408 ล้านบาท

KTB ไตรมาส 2 กำไรพุ่ง 21.5% ที่ 10,156 ล้านบาท จากดอกเบี้ยขาขึ้น-สินเชื่อโต

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP รายงานผลดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 2 ปี 66 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 1,408 ล้านบาท ลดลง 30.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 7,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่งผลให้งวด 6 เดือนแรกของปี 66 มีกำไรสุทธิ 3,493 ล้านบาท ลดลง 14.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 14,364 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิไตรมาส 2 เท่ากับ 5,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้ง

ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยไตรมาส 2 เท่ากับ 1,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากธุรกิจวานิชธนกิจและรายได้ค่านายหน้าประกันที่ปรับเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ธนาคารได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) อยู่ที่ 1,878 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 131.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 71.2% จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อและเพื่อเป็นการรองรับคุณภาพของสินเชื่อภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวเฉพาะส่วนและการแข่งขันที่ปรับตัวรุนแรงมากขี้น

ด้านอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการดอ้ยค่าด้านเครดิต (Coverage Ratio) ณ สิ้นไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 143.1%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ระบุถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 66 ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ชัด เจนขึ้น แต่ยังคงเป็นไปอย่างเปราะบางและแตกต่างกันมากในแต่ละอุตสาหกรรมและพื้นที่ โดยภาคการท่องเที่ยวจะเป็นตัวนำการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากจีนประกาศเปิดให้มีการเดินทาง คาดว่าปี 66 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 29.8 ล้านคนในปี2566 แต่ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤตโควิดที่เคยรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 40 ล้านคน

ด้านการส่งออกไทยในปี66 มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนจะยังคงขยายตัวได้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงกว่าปกติจะยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการบริโภคในประเทศ

สำหรับความเสี่ยงสำคัญ ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 66 ได้แก่

1. สถานการณ์เงินเฟ้อโลกที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้และส่งผลใหอัตราดอกเบี้ยต้องปรับสูงขึ้นมากกว่าคาด

2. ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจากความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเปราะบางมากขึ้น

3. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่อาจกระทบต่อทั้งทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและทิศทางอัตราเงินเฟ้อ

4คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่หลังทั่วโลกเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศอย่างเสรี

5. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อภาคการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนในประเทศ

อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม :คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ งวดครึ่งปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2566

You May Also Like

More From Author